วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ครุศาสตร์ จุฬาฯ

วันนี้ไปสอบตรงของคณะครุศาสตร์ วิชาความรู้พื้นฐานทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สอบที่เมืองทองธานี นั่งรถจนก้นเมื่อยหมดแล้ว ที่แรคเขาพาไปเก็บ 250 บาท ไปรถบัสสองชั้นหรูมากกกก นั่งสบาย แอร์เย็นโคตรรรร แรคนัดมาขึ้นรถตี 5 โอ้กว่าจะตื่นก็ตี 4 แล้วจะไปทันไหมเนี่ย แตสุดท้ายก็ทัน ถึงเมืองทองประมาณ 7 โมงกว่า สอบ 9 โมง พี่จะนัดหนูเร็วทำไมค่ะ หนูง่วงนอนมากกกกกกกกกคร่า คนสอบเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เยอะได้อีก เพื่อนคนอื่นได้สอบที่สวนดุสิต แต่ทำไมฉันได้สอบที่อิมแพคล่ะ พอเข้าห้องสอบก็หาที่นั่งของตัวเอง ที่ 5872 โอ้ อยู่ข้างในสุดและหลังสุดเลยยยยยยย คนสอบเยอะจริงงงงงงง เบียดกันตายแล้ว พออ.แจกข้อสอบเจอข้อแรกก็ อ.ฆ่าหนูเหอะ ยากกกกกกกกมากกกกกก ทำไมต้องออกเศรษฐศาสตร์เยอะด้วยง่า ไม่ชอบเศรษฐศาสตร์เลยยยยยยย ไม่รู้เรื่อง แต่ภาษาไทยก็พอทำได้บ้าง แต่ไม่มากกกกกกก มี 100 ข้อ มั่นใจเลยว่าทำได้ไม่ถึง 50 ยากมากมายยยย ถามแต่เศรษฐศาสตร์ โอ้ ไม่รู้เรื่อง ต้องตั้งใจเรียนวิชาของอ.อารยะมากกกกกกเสียแล้ววววว พูดมาซะเยอะแล้ว เราไปทำความรู้จักคณะครุศาสตร์กันดีกว่า

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ย้อนไปในปี พ.ศ. 2435 เริ่มจากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงธรรมการทรงได้รับพระบรมราชานุญาตจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาจารย์ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนฝึกหัดครู" ต่อมาวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษาทรงพระราชทานนามว่า "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" กับทั้งได้พระราชทานเงินที่คงเหลือจากการที่ราษฎรเข้าเรี่ยไรกันเพื่อสร้างพระราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า 982,672.47 บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียนและพระราชทานที่ดิน จำนวน 1,309 ไร่ ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโอนเอาโรงเรียน ต่าง ๆ มารวมกันเข้า ส่วนสถานศึกษาและการดำเนินงานยังคงแยกย้ายอยู่ที่เดิม ในปี พ.ศ. 2458 จึงได้ย้ายสถานศึกษามารวมกันในที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกครุศึกษารวมอยู่ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ใช้ชื่อว่าแผนกฝึกหัดครู เมื่อคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์แยกจากกัน แผนกฝึกหัดครูเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกครุศาสตร์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์

วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2500 มีการแยกแผนกครุศาสตร์ ออกเป็นคณะครุศาสตร์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นคณะที่ 7 ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์พูนทรัพย์ ไกรยง (ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา) หัวหน้าแผนกวิชาครุศาสตร์ในขณะนั้นเป็นคณบดีคนแรก ประกอบด้วย 4 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาสารัตถศึกษา แผนกวิชาวิจัยการศึกษา แผนกวิชาประถมศึกษา และแผนกวิชามัธยมศึกษา

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2501 คณะครุศาสตร์ได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อเป็นแหล่งปฏิบัติการวิจัยในการทดลองสอนของนิสิตคณะครุศาสตร์ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตอมาในปี พ.ศ. 2522 "แผนกวิชา" ได้เปลี่ยนเป็น"ภาควิชา" ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 11 ภาควิชา 1 สาขาวิชา และศูนย์ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้
1. ภาควิชาสารัตถศึกษา 7. ภาควิชาโสตทัศนศึกษา
2. ภาควิชาวิจัยการศึกษา 8. ภาควิชาศิลปศึกษา
3. ภาควิชาประถมศึกษา 9. ภาควิชาอุดมศึกษา
4. ภาควิชามัธยมศึกษา 10. ภาควิชาดนตรีศึกษา
5. ภาควิชาบริหารศึกษา 11. ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน
6. ภาควิชาพลศึกษา 12. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ศูนย์ ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ 4. ศูนย์ทดสอบทางการศึกษา
2. ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา 5. ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ
3. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา 6. โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย

วันที่ 10 กรกฎาคม 2547 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งเรื่อง ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "การแบ่งส่วนราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2547” ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเรื่องดังกล่าวในราชกิจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121ตอนที่ 71 ลงวันที่ 2 กันยายน 2547 ให้แบ่งส่วนราชการของคณะครุศาสตร์ เป็น 4 ภาควิชา ดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ 2. ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยี
การศึกษา
3. ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา 4. ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา
5. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
ศูนย์ ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ 2. ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
3. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา 4. ศูนย์ทดสอบทางการศึกษา
5. ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ 6. โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ

ไม่มีความคิดเห็น: