วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2552

ครุศาสตร์ จุฬาฯ

วันนี้ไปสอบตรงของคณะครุศาสตร์ วิชาความรู้พื้นฐานทั่วไป จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้สอบที่เมืองทองธานี นั่งรถจนก้นเมื่อยหมดแล้ว ที่แรคเขาพาไปเก็บ 250 บาท ไปรถบัสสองชั้นหรูมากกกก นั่งสบาย แอร์เย็นโคตรรรร แรคนัดมาขึ้นรถตี 5 โอ้กว่าจะตื่นก็ตี 4 แล้วจะไปทันไหมเนี่ย แตสุดท้ายก็ทัน ถึงเมืองทองประมาณ 7 โมงกว่า สอบ 9 โมง พี่จะนัดหนูเร็วทำไมค่ะ หนูง่วงนอนมากกกกกกกกกคร่า คนสอบเยอะมากกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกกก เยอะได้อีก เพื่อนคนอื่นได้สอบที่สวนดุสิต แต่ทำไมฉันได้สอบที่อิมแพคล่ะ พอเข้าห้องสอบก็หาที่นั่งของตัวเอง ที่ 5872 โอ้ อยู่ข้างในสุดและหลังสุดเลยยยยยยย คนสอบเยอะจริงงงงงงง เบียดกันตายแล้ว พออ.แจกข้อสอบเจอข้อแรกก็ อ.ฆ่าหนูเหอะ ยากกกกกกกกมากกกกกก ทำไมต้องออกเศรษฐศาสตร์เยอะด้วยง่า ไม่ชอบเศรษฐศาสตร์เลยยยยยยย ไม่รู้เรื่อง แต่ภาษาไทยก็พอทำได้บ้าง แต่ไม่มากกกกกกก มี 100 ข้อ มั่นใจเลยว่าทำได้ไม่ถึง 50 ยากมากมายยยย ถามแต่เศรษฐศาสตร์ โอ้ ไม่รู้เรื่อง ต้องตั้งใจเรียนวิชาของอ.อารยะมากกกกกกเสียแล้ววววว พูดมาซะเยอะแล้ว เราไปทำความรู้จักคณะครุศาสตร์กันดีกว่า

คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ย้อนไปในปี พ.ศ. 2435 เริ่มจากสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเสนาบดีกระทรวงธรรมการทรงได้รับพระบรมราชานุญาตจัดตั้งโรงเรียนฝึกอาจารย์ ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น"โรงเรียนฝึกหัดครู" ต่อมาวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2453 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาโรงเรียนมหาดเล็กเป็นสถาบันอุดมศึกษาทรงพระราชทานนามว่า "โรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" กับทั้งได้พระราชทานเงินที่คงเหลือจากการที่ราษฎรเข้าเรี่ยไรกันเพื่อสร้างพระราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า 982,672.47 บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียนและพระราชทานที่ดิน จำนวน 1,309 ไร่ ให้เป็นที่ตั้งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยโอนเอาโรงเรียน ต่าง ๆ มารวมกันเข้า ส่วนสถานศึกษาและการดำเนินงานยังคงแยกย้ายอยู่ที่เดิม ในปี พ.ศ. 2458 จึงได้ย้ายสถานศึกษามารวมกันในที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 ได้รับการสถาปนาเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แผนกครุศึกษารวมอยู่ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ใช้ชื่อว่าแผนกฝึกหัดครู เมื่อคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์แยกจากกัน แผนกฝึกหัดครูเปลี่ยนชื่อเป็นแผนกครุศาสตร์ สังกัดคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์

วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2500 มีการแยกแผนกครุศาสตร์ ออกเป็นคณะครุศาสตร์ ได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นคณะที่ 7 ในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีอาจารย์พูนทรัพย์ ไกรยง (ศาสตราจารย์ท่านผู้หญิง พูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา) หัวหน้าแผนกวิชาครุศาสตร์ในขณะนั้นเป็นคณบดีคนแรก ประกอบด้วย 4 แผนกวิชา คือ แผนกวิชาสารัตถศึกษา แผนกวิชาวิจัยการศึกษา แผนกวิชาประถมศึกษา และแผนกวิชามัธยมศึกษา

วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2501 คณะครุศาสตร์ได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อเป็นแหล่งปฏิบัติการวิจัยในการทดลองสอนของนิสิตคณะครุศาสตร์ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตอมาในปี พ.ศ. 2522 "แผนกวิชา" ได้เปลี่ยนเป็น"ภาควิชา" ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 11 ภาควิชา 1 สาขาวิชา และศูนย์ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้
1. ภาควิชาสารัตถศึกษา 7. ภาควิชาโสตทัศนศึกษา
2. ภาควิชาวิจัยการศึกษา 8. ภาควิชาศิลปศึกษา
3. ภาควิชาประถมศึกษา 9. ภาควิชาอุดมศึกษา
4. ภาควิชามัธยมศึกษา 10. ภาควิชาดนตรีศึกษา
5. ภาควิชาบริหารศึกษา 11. ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน
6. ภาควิชาพลศึกษา 12. สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน
ศูนย์ ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ 4. ศูนย์ทดสอบทางการศึกษา
2. ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา 5. ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ
3. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา 6. โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทย

วันที่ 10 กรกฎาคม 2547 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งเรื่อง ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง "การแบ่งส่วนราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2547” ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเรื่องดังกล่าวในราชกิจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121ตอนที่ 71 ลงวันที่ 2 กันยายน 2547 ให้แบ่งส่วนราชการของคณะครุศาสตร์ เป็น 4 ภาควิชา ดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการ 2. ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยี
การศึกษา
3. ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา 4. ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา
5. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา
ศูนย์ ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้
1. ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ 2. ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
3. ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา 4. ศูนย์ทดสอบทางการศึกษา
5. ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ 6. โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ

วันอังคารที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2552

90 ปีราชินีบูรณะ

เข็ม "ราชินีบูรณะ" เครื่องหมายแห่งศักดิ์ศรี
เข็ม คือ เครื่องหมายและสัญญาลักษณ์สำคัญ ซึ่งองค์กรต่างๆ มอบให้แก่สมาชิก หรือ ผู้สมควรได้รับเกียรติยศโดยใช้ประดับไว้ในที่อันสมควร เช่น กลัดติดเสื้อผ้าอาภรณ์ ทั้งนี้เพื่อแสดงฐานะอันสำคัญ ได้แก่ การแสดงว่า คือ หมู่เหล่าเดียวกัน การดำรงไว้ซึ่งความรู้ ความสามารถ ความซื่อสัตย์ ประสบการณ์แห่งหน้าที่การงาน ศิลปวิทยา วิทยฐานะ ตลอดจนผู้ได้รับรางวัลเกียรติยศ ก่อให้กอปรเกิดศักดิ์ศรีแก่ผู้ประดับเข็มเครื่องหมายนั้นๆ สืบไป

"ราชินีบูรณะ" กับ เครื่องหมาย "พระมงกุฏ"
คนธรรมดามิบังควรใช้พระมงกุฏ เพราะ พระมงกุฏคือเครื่องทรงสำหรับพระราชา นัยแห่ง "สมมุติเทพ" อันมีเครื่องหมายพิเศษสำหรับเทพ ๕ อย่าง รวมเรียกว่า "พระมหาสิริเบญจาราชกุธภัณฑ์" พระมงกุฏนี้คือสิ่งสำคัญสูงสุดแห่งพระราชา
พระมงกุฏมี ๓ แบบ คือ
๑.พระจุลมงกุฏ หรือ พระเกี้ยวยอด และพระปิ่นสำหรับพระยุพราช
๒.พระมงกุฏ สำหรับพระราชินี ลักษณะเป็นพระมงกุฏหรือชฏาหน้านาง ( กระบังหน้า ) พระเกี้ยวยอด พระปิ่น
๓.พระมงกุฏ หรือ พระมหาพิชัยมงกุฏสำหรับพระราชา
โรงเรียนราชินีบูรณะ ประดับเครื่องหมาย "พระมงกุฏสำหรับพระราชินี" นี้คือ ศักดิ์ศรีสูงส่งของเราอย่างหนึ่ง

ราชินีบูรณะ กับ อักษรย่อ "ร.ณ."
เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๕๗ โรงเรียนราชินีบูรณะก่อตั้งขึ้นโดยใช้ชื่อว่า "สตรีวิทยาประจำมณฑลนครชัยศรี" โรงเรียนนี้ตั้งอยู่หน้าองค์พระปฐมเจดีย์ ต่อมีปี พุทธศักราช ๒๔๖๐ เกิดไฟไหม้โรงเรียน ต้องอพยพหาที่เรียนอยู่เนืองๆ ด้วยเพราะความเดือดร้อนเรื่องสถานที่เรียนนี้ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ทรงทราบเหตุจึงพระราชทานเงินมาสร้างอาคารถาวร พร้อมพระราชทานนามว่า "ราชินีบูรณะ" อันหมายถึง พระราชินีได้ทรงบูรณะโรงเรียนเดิมที่ไฟไหม้ ให้ถาวร สมดังความหมายที่ว่า "ราชินีบูรณะ" นี่คือ ศักดิ์ศรีอย่างที่สองที่พึงภาคภูมิใจยิ่ง

สีและความหมายของสี
สีทุกสีมีวรรณะและมีความหมายเฉพาะ เช่น ที่อยู่อาศัย บ้านเรือน ถ้าเป็นบ้านเรือนเจ้านายจะใช้สี เช่น สีชาด สำหรับสีพิเศษอย่างยิ่งคือ สีทอง มีศักดิ์พิเศษที่ใช้ได้คือพระราชาและวัดเท่านั้น สำหรับพระมงกุฏสีทองในเข็มนี้ จึงหมายถึงโรงเรียนที่ได้รับพระราชทานกำเนิดจากพระราชินี
ส่วนสีขาวของอักษรย่อ ร. หมายถึงเยาวชนผู้มีความบริสุทธิ์ และสีน้ำเงินของอักษรย่อ ณ. คือสีผู้สืบทอดเชื่อมโยงจากพระเจ้าแผ่นดิน